บทที่ 3 การจัดการข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์


บทที่ 3 การจัดการข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์

1.   ขั้นตอนการประมวลผลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบ่งได้กี่วิธี อะไรบ้าง

ประเภทการประมวลผลข้อมูล

        การประมวลผลข้อมูล หมายถึง การกระทำกับข้อมูลใดข้อมูลหนึ่งหรือข้อมูลกลุ่มใดๆกลุ่มหนึ่ง เพื่อให้อยู่ในรูปแบบที่มีความหมายมากขึ้น สามารถนำไปใช้ประโยชน์ ได้มากขึ้น สิ่งที่ได้จากการประมวลผลนี้เรียกว่า สารสนเทศ(Information) ข้อมูล (Data)สำหรับการประมวลผลข้อมูลนั้นถือว่าเป็นวัตถุดิบที่สำคัญยิ่งในการประมวลผลข้อมูล รวมทั้งขั้นตอนวิธีสำหรับการประมวลผลช่วยให้การประมวลผลรวดเร็วและถูกต้อง ตามความต้องการของผู้ใช้สารสนเทศ        


          แบ่งตามลักษณะของอุปกรณ์ที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูล ได้เป็น 3 ลักษณะ คือ

         การประมวลผลด้วยมือ (Manual Data Processing) เป็นวิธีการที่ใช้มาตั้งแต่อดีต
โดยการนำอุปกรณ์ง่ายๆ มาช่วยในการคำนวณ เช่น ลูกคิด ปากกา ดินสอ เป็นต้น การประมวลผลแบบนี้เหมาะกับการคำนวณที่ไม่ ยุ่งยากซับซ้อน ซึ่งมักพบในธุรกิจขนาดเล็กที่มีปริมาณข้อมูลไม่มากนัก



          



การประมวลผลด้วยเครื่องจักรกล(Mechanical Data Processing) เป็นวิวัฒนาการมาจากการประมวลผลด้วยมือ แต่ยังต้องอาศัยแรงงานคนในการทำงานร่วมกับเครื่องจักรกลในการประมวลผล เช่น เครื่องทำบัญชี (Accounting machine) เครื่องเจาะบัตร เครื่องเรียงบัตร เครื่องแปลข้อมูล เครื่องตรวจทานบัตร เป็นต้น




       

  การประมวลผลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Processing : EDP) หมายถึงการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการประมวลผล ส่วนใหญ่มักจะใช้ กับข้อมูลที่มีปริมาณมาก ต้องการความถูกต้องรวดเร็ว รวมทั้งงานที่มีการประมวลผลที่ี่ยุ่งยากซับซ้อน  การนำเอาคอมพิวเตอร์ซึ่งประกอบไปด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จำนวนมากมาย มาใช้ในการประมวลผลข้อมูลกำลังเป็นที่นิยมและได้รับความเชื่อถืออย่างมากในปัจจุบันชึ่งเราอาจเรียกการประมวลผลโดยใช้คอมพิวเตอร์นี้ว่า การประมวลผลข้อมูลแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Processing: EDP) เนื่องจากคอมพิวเตอร์สามารถประมวลผลข้อมูลจำนวนมาก และให้ผลลัพธ์อย่างรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ ซึ่งนับเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินธุรกิจและระบบงานที่ต้องอาศัยข้อมูลในการวิเคราะห์ อ้างอิง และตัดสินใจ รวมทั้งโปรแกรมระบบงานต่างๆ ก็ได้รับการพัฒนาเพื่อรองรับการประมวลผลจำนวนมากได้อย่างมีประสิทธิภาพ

งานที่มีปริมาณมาก

·        งานที่ต้องการความรวดเร็ว

·        งานที่ต้องการความถูกต้อง

·        งานที่ต้องการความปลอดภัยของข้อมูล

·        งานที่มีความซับซ้อนในการคำนวณ

·        งานที่มีขั้นตอนและรูปแบบการทำงานซ้ำๆ

 สำหรับการประมวลผลด้วยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ ยังสามารถแบ่งได้เป็น 2 วิธี คือ

การประมวลผลแบบแบทซ์ ( Batch Processing )


เป็นวิธีที่ต้องใช้เวลารวบรวมข้อมูลตามช่วงเวลาที่กำหนด ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการประมวลผล วิธีนี้จะไม่มีการโต้ตอบกัน (Interactive) ระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์ จึงเรียกวิธีการประมวลผลแบบนี้ว่า ออฟไลน์ (off-line) เช่น ระบบการคิดดอกเบี้ยทบต้นทุก 3 เดือน หมายถึง หากยังไม่ถึงกำหนด 3 เดือน จะไม่มีการคิดดอกเบี้ยให้ 


ข้อดี
  • เหมาะสำหรับบริษัทที่มีขนาดใหญ่ มีปริมาณงานมาก แต่ไม่จำเป็นต้องใช้ข้อมูลทันที

• ง่ายต่อการตรวจสอบ ในกรณีที่เกิดข้อผิดพลาดสามารถตรวจสอบข้อมูลได้ง่าย

ข้อเสีย

• ข้อมูลที่ได้ไม่ทันสมัย เนื่องจากมีกำหนดระยะเวลาในการประมวลผล

• เสียเวลาในการรวบรวมข้อมูล

การประมวลผลแบบอินเทอร์แอคทีฟ ( Interactive Processing )

เป็นวิธีที่ไม่ต้องรอเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูล เมื่อคอมพิวเตอร์ระบข้อมูลเข้าสู่ระบบก็จะทำการประมวลผลและให้ผลลัพท์ได้ทันที วิธีนี้ผู้ใช้และคอมพิวเตอร์จะมีการโต้ตอบกัน จึงเรียกวิธีการประมวลผลแบบนี้ว่า ออนไลน์ (on-line) เช่น การถอนเงินจากเครื่องถอนเงินอัตโนมัติ (ATM) เมื่อมีการถอนเงิน ยอดเงินในบัญชีจะมีการเปลี่ยนแปลงทันที





              ข้อดี    
                 • สามารถตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่นำเข้าไปได้ทันที

                 • ข้อมูลที่ได้ทันสมัย

                ข้อเสีย
                 • มีโอกาสที่เกิดความผิดพลาดได้

                 • การแก้ไขข้อผิดพลาดทำได้ยาก


 ที่มา:http://pirun.kps.ku.ac.th/~b5028125/p3.html


ขั้นตอนของการประมวลผลข้อมูล
 
การประมวลผลข้อมูล สามารถแบ่งได้ 3 ขั้นตอน ดังนี้ คือ


1. การเตรียมข้อมูลนำเข้า (Input Data) เป็นขั้นตอนการเตรียมข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่พร้อมจะทำการประมวลผล โดยข้อมูลเหล่านี้อาจได้มาจาก การสัมภาษณ์ การจดบันทึก การสังเกต หรือข้อมูลจากแบบฟอร์มต่าง ๆ
การเตรียมข้อมูลนำ แบ่งออกเป็นขั้นตอนย่อย ๆ ดังนี้ คือ
      - การลงรหัส (Coding)
เป็นการใช้รหัสแทนข้อมูล ทำให้ข้อมูลอยู่ในรูปแบบที่กะทัดรัด สะดวกในการประมวลผล เช่น ข้อมูลเพศของนักเรียน แบ่งออกเป็น
M  หมายถึง  เพศชาย
F   หมายถึง  เพศหญิง
       - งานบรรณาธิการเบื้องต้น (Preliminary Editing) เป็นการตรวจสอบความถูกต้องและความเป็นได้ของข้อมูล หากข้อมูลมีข้อผิดพลาดทำการปรับปรุงแก้ไข
       - การแยกประเภท  (Classifying)   เป็นการจัดประเภทข้อมูลให้เป็นกลุ่มตามลักษณะของข้อมูล เพื่อสะดวกในการนำไปประมวลผล
       - การบันทึกข้อมูลในสื่อที่เหมาะสม   เป็นการบันทึกข้อมูลลงในอุปกรณ์เพื่อนำไปใช้ในการประมวลผล เช่น การบันทึกข้อมูลลงในแผ่นดิสเก็ต

2. การประมวลผล (Processing)  หมายถึง  การนำข้อมูลที่เตรียมไว้มาทำการประมวลผลโดยกรรมวิธีหนึ่ง หรือหลายกรรมวิธี เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ สามารถนำไปใช้งานได้

3. การแสดงผลลัพธ์ (Output) หมายถึง การนำผลลัพธ์ท่ได้จากการประมวลผลมาใช้งานในด้านต่าง ๆ รวมถึงการข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ด้วย
         


                                         ที่มา:  http:///weerasak/StudentProject/Sudarut2553/htdoc

2.จงเรียงลำดับโครงสร้างข้อมูลจากขนาดเล็กไปใหญ่ พร้อมอธิบายความหมายของโครงสร้างข้อมูลแต่ละแบบ 
   
โครงสร้างข้อมูล
 
     ในการจัดการข้อมูลจะมีการแบ่งข้อมูลออกเป็นลำดับชั้นเพื่อง่ายต่อการเรียกใช้และประมวลผล ลำดับชั้นข้อมูลพื้นฐานที่ควรทราบมีดังต่อไปนี้
 

บิต (Bit = Binary Digit)
     เป็นลำดับชั้นของหน่วยข้อมูลที่เล็กที่สุด ดังที่ทราบกันดีแล้วว่าข้อมูลที่จะทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์ได้นั้น จะต้องเอามาแปลงให้อยู่ในรูปของเลขฐานสองเสียก่อนคอมพิวเตอร์จึงจะเข้าใจและทำงานตามที่ต้องการได้ เมื่อแปลงแล้วจะได้ตัวเลขแทนสถานะเปิดและปิด ของสัญญาณไฟฟ้าที่เรียกว่า บิต เพียง 2 ค่าเท่านั้นคือ บิต 0 และบิต 1


ไบต์ (Byte)
     เมื่อนำบิตมารวมกันหลายๆบิต จะได้หน่วยข้อมูลกลุ่มใหม่ที่เรียกว่า ไบต์ (Byte) ซึ่งจำนวนของบิตที่ได้นั้นแต่ละกลุ่มอาจมีมากหรือน้อยบ้าง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของรหัสที่ใช้เก็บ แต่โดยปกติกับการใช้งานในรหัสแอสกีทั่วไปจะได้กลุ่มของบิต 8 บิตด้วยกัน ซึ่งนิยมมาแทนเป็นรหัสของตัวอักษร บางครั้งจึงนิยมเรียกข้อมูล 1 ไบต์ว่าเป็น 1 ตัวอักษร


ฟีลด์ หรือเขตของข้อมูล (Field)
     ประกอบด้วยกลุ่มของตัวอักษรหรือไบต์ตั้งแต่ 1 ตัวขึ้นไปมาประกอบกันเป็นหน่วยข้อมูลที่ใหญ่ขึ้นแล้วแสดงลักษณะหรือความหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง ยกตัวอย่างเขตข้อมูลเกี่ยวกับพนักงาน เช่น รหัสพนักงาน ชื่อ นามสกุล เงินเดือน ตำแหน่ง


เรคคอร์ด (Record)
     เป็นกลุ่มของเขตข้อมูลหรือฟีลด์ที่มีความสัมพันธ์กัน และนำมาจัดเก็บรวมกันเป็นหน่วยใหม่ที่ใหญ่ขึ้นเพียงหน่วยเดียว ปกติในการจัดการข้อมูลใดมักประกอบด้วยเรคคอร์ด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของข้อมูลเป็นหลัก


ไฟล์ หรือแฟ้มตารางข้อมูล (File)
     ไฟล์ หรือแฟ้มข้อมูล เป็นการนำเอาข้อมูลทั้งหมดหลายๆเรคคอร์ดที่ต้องการจัดเก็บมาเรียงอยู่ในรูแปบของแฟ้มตารางข้อมูลเดียวกัน เช่น แฟ้มตารางข้อมูลเกี่ยวกับคะแนนนักศึกษาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ อาจประกอบด้วยเรคคอร์ดของนักศึกษาหลายๆคนที่เก็บข้อมูลเกี่ยวกับ รหัสนักศึกษา ชื่อ นามสกุล และคะแนนที่ได้ 

นข้อมูล (Database)

น่วยของข้อมูล
 
น่วยของข้อมูลคอมพิวเตอร์สามารถจัดเรียงเป็นลำดับชั้น  จากขนาดเล็กไปขนาดใหญ่ได้ดังนี้
-  บิต (bit)  เลขฐานสองหนึ่งหลักซึ่งมีค่าเป็น 0 หรือ 1
-  ตัวอักษร (character) กลุ่มข้อบิตสามารถแทนค่าตัวอักษรได้ ในชุดอักขระASCII 1 ไบต์ (8 บิต) แทน 1 ตัวอักษร
-  เขตข้อมูล (field) เขตข้อมูลซึ่งประกอบด้วยกลุ่มตัวอักษรที่แทนข้อเท็จจริง
-  ระเบียน (record) คือโครงสร้างข้อมูลที่แทนตัววัตถุชิ้นหนึ่ง เช่น ระเบียนนักเรียน
-  แฟ้ม  (file)  ตารางที่เป็นกลุ่มของระเบียนที่มีโครงสร้างเดียวกัน
-  ฐานข้อมูล (database) กลุ่มของตารางที่มีความสัมพันธ์กัน

 หน่วยวัดความจุของหน่วยความจำทางคอมพิวเตอร์
8              bits                          =            1              Byte                       : B
1,024      Bytes                     =             1              Kilo Byte             : KB         
1,024      KB                         =             1              Mega Byte           : MB         
1,024      MB                         =             1              Giga Byte            : GB         
1,024      GB                         =             1              Tera Byte             : TB         
หมายเหตุ     Kilo   =   210   =   1,024 

วัตถุประสงค์ในการจัดการข้อมูล
- การเก็บข้อมูลเพื่อให้สามารถนำกลับมาใช้ได้ในภายหลัง
- การจัดข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถเรียกใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- การปรับปรุงข้อมูลให้มีความถูกต้องสมบูรณ์อยู่เสมอ
-  การปกป้องข้อมูล จากการทำลาย ลักลอบใช้ หรือแก้ไขโดยมิชอบ รวมทั้งปกป้องข้อมูลจากอุบัติเหตุที่อาจเกิดจากวินาศภัยหรือความบกพร่องภาย ในระบบคอมพิวเตอร์

โครงสร้างข้อมูล
การใช้คอมพิวเตอร์จัดการระบบฐานข้อมูลนั้น ข้อมูลของเอนทิตีต่างๆ จะได้รับการนำไปเก็บไว้ในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ ข้อมูลที่เก็บไว้อาจได้รับการเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมหรือตัดออกได้ การเก็บข้อมูลจะทำการเก็บข้อมูลไว้หลายๆ เอนทิตี และเมื่อมีการเรียกใช้อาจนำเอาข้อมูลจากหลายๆ เอนทิตีนั้นมาสัมพันธ์กันเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ
การจัดเก็บข้อมูลด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่ถือว่ามีประสิทธิภาพคือการใช้ เนื้อที่ในการจัดเก็บข้อมูลน้อยที่สุดและจะต้องเรียกค้นข้อมูลได้ง่าย ดังนั้นจึงมีการแบ่งเอนทิตีออกเป็นส่วนย่อยๆ เพื่อใช้เรียกข้อมูลย่อยซึ่งเรียกว่า เขตข้อมูล (Field) เมื่อนำเขตข้อมูลทั้งหมดของแฟ้มมาวางเรียงกัน จะเกิดรูปแบบที่ทางคอมพิวเตอร์มองเห็นเรียกว่า ระเบียน (Record) ซึ่งสามารถใช้เป็นเครื่องบ่งบอกถึงโครงสร้างงาของแฟ้มนั้นได้รวมกันในระบบ ฐานข้อมูลจึงประกอบด้วยแฟ้มข้อมูลจำนวนหลายๆ แฟ้มที่มีความสัมพันธ์กัน
  
การจัดโครงสร้างแฟ้มข้อมูล

การจัดโครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบต่างๆ มีลักษณะเฉพาะตัวในการเข้าถึงข้อมูล ดังนี้
 -  แฟ้มลำดับ (Sequential file) เป็นการจัดโครงสร้างแฟ้มที่ง่ายที่สุด คือ ระเบียนถูกเก็บเรียงต่อเนื่องกันไปตามลำดับของเขตข้อมูลคีย์
-   แฟ้มสุ่ม (Direct file) ใช้แก้ปัญหาความล่าช้าในการเข้าถึงข้อมูลของแฟ้มลำดับ โดยใช้ฟังก์ชันสุ่มในเขตข้อมูลคีย์เป็นข้อมูลนำเข้าและให้ผลลัพธ์เป็น ตำแหน่งที่อยู่ของระเบียน
-    แฟ้มดรรชนี (Indexed file) คล้ายกับดรรชนีคำศัพท์ที่อยู่ท้ายเล่มหนังสือ ที่ประกอบด้วยคำต่างๆ เรียงตามตัวอักษร โดยจะเก็บค่าของเขตข้อมูลคีย์ทั้งหมดพร้อมด้วยตำแหน่งของระเบียนที่มีค่าเขต ข้อมูลคีย์นั้น
-  แฟ้มลำดับดรรชนี (Indexed sequential file) เป็นการจัดโครงสร้างแฟ้มข้อมูลที่แตกต่างจากแฟ้มดรรชนี ซึ่งตัวระเบียนในแฟ้มข้อมูลไม่เรียงตามลำดับ แต่เรียงเฉพาะคีย์ในดรรชนี แฟ้มลำดับดรรชนี มีระเบียนที่เรียงลำดับตามเขตคีย์ข้อมูล และมีดรรชนีบางส่วน

 การจัดการฐานข้อมูล

        ในการทำงานด้วยคอมพิวเตอร์ ถึงแม้จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพดีแล้วยังต้องมีชุดคำสั่ง (Software) ที่จะควบคุมการทำงานของเครื่องอีกด้วย การทำงานโดยวิธีการจัดแฟ้มซึ่งเรียกวิธีนี้ว่า ระบบการจัดการกระทำแฟ้มข้อมูล (file handing system) อาจใช้โปรแกรมสำเร็จซึ่งทำหน้าที่ในการเก็บรวบรวมข้อมูลให้เป็นแฟ้มที่มี ระเบียบง่ายต่อการใช้งาน และช่วยทำให้ผู้ใช้ประมวลผลข้อมูลต่างๆ ตามความต้องการได้อย่างรวดเร็ว โปรแกรมเหล่านี้จะใช้ระบบการจัดการฐานข้อมูล หรือที่เรียกว่า ดีบีเอ็มเอส (Data Base Management System : DBMS)
ระบบฐานข้อมูลเป็นสิ่งที่จำเป็นและเกี่ยวข้องกับการใช้งานประจำวัน การตัดสินใจของผู้บริหารจะกระทำได้รวดเร็ว ถ้ามีข้อมูลที่ถูกต้องและเพียงพอ จึงมีการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยประมวลผลเพื่อให้ได้สารสนเทศดังกล่าว แต่การประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีหลักการและวิธีการที่ทำให้ระบบมี ระเบียบแบบแผนที่ดี การแบ่งประเภทแฟ้ม

 ลักษณะการจัดการฐานข้อมูลที่ดี

     เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์ได้เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา วิธีการฐานข้อมูลได้พัฒนาให้ก้าวหน้าขึ้นจากการออกแบบและเก็บข้อมูลในฐาน ข้อมูลที่เดียว การจัดการฐานข้อมูลจึงมีหลักการที่สำคัญ คือ
1.  ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล
2.  กำหนดมาตรฐานข้อมูล
3.  มีระบบป้องกันความปลอดภัยของข้อมูล
4.  มีความเป็นอิสระจากโปรแกรม
5.  รวมข้อมูลเป็นฐานข้อมูลกลาง


 ที่มา :http://www.thaigoodview.com

3. ให้ออกแบบแฟ้มข้อมูลจำนวน 1 แฟ้มข้อมูลโดยกำหนด 
Field และ Record ตามเหมาะสม
    





 4. จงอธิบายความแตกต่างระหว่างการประมวลผลข้อมูลแบบแบชและแบบเรียลไทม์

วิธีการประมวลผล
1. วิธีการประมวลแบบแบทซ์ (Batch Processing) เป็นการประมวลผลโดยเก็บรวบรวมข้อมูลหรือคำสั่งไว้ปริมาณ หนึ่งแล้วจึงนำงานชุดหรือแบทซ์ นั้นส่งเข้าประมวลผลต่อไป วิธีการประมวลผลแบบนี้มีใช้มาตั้งแต่คอมพิวเตอร์ยุคแรก การประมวลผลแบบแบทซ์พิจารณาได้ 2 ด้าน คือ ในด้านของผู้ใช้เครื่องและในด้านของผู้มีหน้าที่ควบคุมเครื่อง
  • ในด้านผู้ใช้เครื่อง ผู้ใชเครื่องหรือเจ้าของงานที่ต้องการประมวลผลทำการเก็บรงบรงมข้อมูลไว้เป็น ชุดแล้วจึงส่งเข้า ประมวลผลโดยทั่วไปผู้ใช้ถือเครื่องเอาคาบเวลาเป็นตัวกำหนดการส่งงานเข้า เครื่อง
  • ในด้านของผู้ควบคุมเครื่อง ผู้ควบคุมเครื่องทำการรวบรวมงานที่ผู้ใช้ส่งมาเพื่อรอเข้าประมวลผลเป็นชุด แล้วจึงส่งเข้า ทำงานในเครื่องครั้งละชุด ศูนย์คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่มีการกำหนดเวลาในการส่งเข้า เช่น ส่งเข้าทุก 2 ชั่วโมง ไม่ว่าจะเป็นการประมวลผลแบบแบทซ์ในด้านใดปัญหาของการทำงานที่เห็นได้ชัด คือ การประมวลผลแบบแบทซ์ต้อง ใช้เวลา แต่งานในปัจจุบันต้องการผลที่เร่งด่วนและผู้บริหารต้องการรู้ข้อมูลที่ล่า สุด เพื่อใช้ในการตัดสินใจได้ทันต่อ สถานการณ์ การประมวลผลแบบแบทซ์จึงไม่สามารถ ช่วยงานในลักษณะที่ได้เต็มที่ ลักษณะงานที่เหมาะสมกับการ ประมวลผลแบบแบทซ์ คือ - งานที่มีข้อมูลส่งเข้าประมวลผลจำนวนมาก จำเป็นต้องมีการรอเพื่อบันทึกข้อมูลลงสื่อข้อมูลคอมพิวเตอร์
    -งานที่มีการปรับปรุงข้อมูลในแฟ้มข้อมูลเป็นจำนวนมากต่อการประมวลผลแต่ละ ครั้ง เช่น การปรับปรุงคะแนนสะสมของ นักศึกษาเมื่อสิ้นภาคการศึกษา ข้อมูลของนักศึกษาทุกคนจะถูกปรับปรุงใหม่
    รูปแสดงการประมวลผลแบบแบทซ์

    2. วิธีการประมวลผลแบบออนไลน์ แนวความคิดของการประมวลแบบ ออนไลน์ (On-Line Processing) มาจากข้อเท็จ จริงที่ว่า หน่วยประมวลผลกลางของเครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วกว่าหน่วยรับและแสดงผล จึงมีผู้คิดนำเครือ่งเทอร์มินัลมาใช้ในการรับและแสดงผลข้อมูลโดยใช้เชื่อม โยงเข้าหับหน่วยประมวลผลกลาง ทำให้การป้อนข้อมูลไม่ต้องบันทึกสื่อข้อมูล สามารถส่งเข้าประมวลผลโดยตรงและผลลัพธ์แสดงผ่านเครื่องเทอร์มินัลได้โดยตรง เช่นกัน การประมวลผลแบบออนไลน์-ไลน์ แบ่งได้เป็น 2 ระบบย่อย คือ
    - ระบบไทม์-แชริง (Time-Sharing) เป็นระบบออนไลน์ ซึ่งมีผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ผ่านเทอร์มินัลจากหลายงาน ผู้ใช้จึงมีชุดคำสั่งของตนเองส่งเข้าไปในเครื่องในเวลาเดียวกับผู้ใช้ราย อื่นได้ วิธีการนี้จึงดูเหมือนว่าผู้ใช้แต่ละคนเป็นเจ้า ของคอมพิวเตอร์เอง
    - ระบบเรียล-ไทม์ (Real-time) เป็นระบบออนไลน์ ที่มีลักษณะคล้ายกับไทม์-แชริง แต่แตกต่างกันที่งานที่ประมวลผล เป็นงานเดียวมีผู้ร่วมใช้หลายคน เทอร์มินัลทุกจุดถูกควบคุมด้วยโปรแรกมเดียวกันเพื่อให้เครื่องสามารถติดต่อ กับผู้ใช้ทุก คน จึงมีการแบ่งโปรแกรมเป็นชุดย่อย ๆ ในโปรแกรมชุดย่อยเหล่านี้ทำงานไปพ้อม ๆ กันได้
    ระบบการประมวลแบบออน-ไลน์ เหมาะสมกับงานซึ่งมีลักษณะดังต่อไปนี้
  • งานที่มีข้อมูลส่งเข้าประมวลผลจำนวนน้อย
  • งานที่ไม่มีการปรับปรุงแฟ้มข้อมูลทั้งหมดในการประมวลผลแต่ละครั้ง แต่เป็นการปรับปรุงบางรายการเท่านั้น
  • งานที่มีการแสดงผลจำนวนน้อย ไม่มีการพิมพ์รายงานขนาดใหญ่
  • งานที่ต้องการความรวดเร็ว การประมวลผลข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์นั้นสามารถจำแนกได้ 2 แบบใหญ่ ๆ คือ การประมวลผลแบบกลุ่ม (Batch Processing) และการประมวลผลแบบเชื่อมตรง (On-Line Processing)
    การประมวลผลแบบกลุ่ม
    การประมวลผลแบบกลุ่มเป็นการเก็บข้อมูลที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้งรวมเข้าไว้ ด้วยกันเป็นชุด ๆ หรือเป็นจำนวนมากก่อน แล้วจึงทำการบันทึกข้อมูลดังกล่าวเก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ในเวลาถัดมา เมื่อข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้ในระบบคอมพิวเตอร์มีปริมาณมากพอควรแล้วหรือ เมื่อถึงกำหนดเวลาที่ได้มีการระบุไว้แน่นอน (Fixed Intervals) จึงค่อยทำการประมวลผลหรือส่งเข้าไปทำการปรับปรุง/เปลี่ยนแปลงแฟ้มข้อมูลที่ เก็บไว้ในหน่วยความจำสำรอง
    การประมวลผลแบบกลุ่มเป็นวิธีการประมวลผลที่ประหยัดค่าใช้จ่าย และเหมาะสำหรับงานที่ไม่จำเป็นต้องประมวลผลในทันทีทันใดที่เกิดรายการข้อมูล ขึ้น ตัวอย่างเช่น ระบบการรับ-จ่ายเงินเดือน ระบบการจัดทำใบเรียกเก็บเงิน เป็นต้น หากทว่าข้อจำกัดที่สำคัญของระบบการประมวลผลแบบกลุ่ม คือ ข้อมูลหรือข่าวสารที่มีเก็บรวบรวมไว้อาจไม่เป็นปัจจุบัน
    การประมวลผลแบบเชื่อมตรง
    ในการประมวลผลแบบเชื่อมตรง ข้อมูลจะถูกส่งจากแหล่งกำเนิดในพื้นที่ต่าง ๆ ผ่านทางแผงแป้นอักขระของเครื่องปลายทางไปยังหน่วยประมวลผลกลางในทันทีที่มี รายการข้อมูลเกิดขึ้น เพื่อนำ ข้อมูลดังกล่าวไปประมวลผลในหน่วยประมวลผลกลางหรือไปทำการปรับปรุง/เปลี่ยน ปลงแฟ้มข้อมูลในหน่วยความจำสำรองโดยตรง
    ข้อดีของการประมวลผลแบบเชื่อมตรงคือ เนื่องจากข้อมูลที่เก็บบันทึกไว้ในระบบคอมพิวเตอร์จะเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ ดังนั้น ผู้บริหารสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลในการวางแผนและการตัดสินใจได้ทันเวลา และมีประสิทธิภาพ รวมทั้ง การประมวลผลแบบเชื่อมตรงจะเป็นการช่วยลดความผิดพลาดและความเสียหายในการ เคลื่อนย้ายข้อมูลจากแหล่งกำเนิดข้อมูลไปยังหน่วยประมวลผลกลางได้ หากข้อจำกัดของการประมวลผลแบบเชื่อมตรง คือ ต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการจัดทำระบบการประมวลผลแบบเชื่อมตรง ค่อนข้างสูง 

    ที่มา:http://www.ning24.freeservers.com/fteen.html


  • ไม่มีความคิดเห็น:

    แสดงความคิดเห็น